กองบรรณาธิการโกงต่างแดน

ไวน์มรณัง

สำหรับผู้พิศมัยในรสชาติของไวน์ขาวกับอาหารทะเลอันเลอเลิศด้วยรสนิยมแบบฝรั่งเศสแท้ ระวังจะเจอไวน์มรณะนะครับ !

เยอรมันตะวันตก ในช่วงยุค 1980s ไวน์ขาวที่มีรสชาติหวานเล็กน้อย โดยเฉพาะไวน์ขาวจากออสเตรียกำลังเป็นที่นิยมในหมู่นักชิมไวน์ การผลิตไวน์กลายเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ เมื่อไวน์ขาวหวานกลายเป็นที่ต้องการในตลาดยุโรป โดยเฉพาะในประเทศเยอรมัน กลุ่มผู้ค้าไวน์ขาวชาวออสเตรียทำสัญญาผูกขาดกับร้านขายเหล้าและช่องทางจัดจำหน่ายต่างๆ ทั่วประเทศเยอรมัน

ผิดแต่ว่า รสชาติของไวน์ไม่ใช่สิ่งที่ควบคุมได้ง่าย อากาศเปลี่ยนแปลงเพียงองศาเดียว รสชาติของไวน์ก็เปลี่ยนแปลงไป สิ่งนี้เป็นโจทย์สำคัญของผู้ผลิตไวน์ในออสเตรียที่จะต้องควบคุมคุณภาพ และสร้างรสชาติที่เป็นมาตรฐาน เพื่อให้เป็นไปตามความคาดหวังของลูกค้า ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีราคาถูกกว่า แต่รสชาติหวานอร่อย ผิดกับไวน์จากประเทศอื่นๆ

ด้วยรสชาติของผลองุ่นสดจากไร่ขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ บางครั้งแทนที่รสชาติจะอมหวานเล็กน้อย กลับออกรสเปรี้ยวอมขม ผู้ผลิตไวน์ขาวหวานกำลังตีโจทย์นี้ มันหมายถึงการเสื่อมความนิยมลงของสินค้าที่เคยครองแชมป์ในตลาดเครื่องดื่ม

ที่รวมๆ แล้วมีมูลค่าตลาดนับพันล้านบาทต่อปี

“อ็อตโต้ นาลัสกี้ ซีเนียร์” นักเคมีชาวออสเตรียกำลังจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมไวน์ เขาถูกตามตัวมาเพื่อตอบโจทย์ง่ายๆ ว่าทำอย่างไร ไวน์ขาวของออสเตรียจะมีรสชาติหวานเป็นมาตรฐาน พวกเขาจำต้องเอาชนะข้อจำกัดในเรื่องดินฟ้าอากาศให้ได้

ความจริงจังในการค้นหาทางออกของปัญหา ทำให้มีการสร้างห้องแล็บเพื่อทำการทดลองคิดค้นหาวิธีแก้ไข นาลัสกี้ต้องค้นหาสสารที่มีคุณสมบัติในการแก้ปัญหานี้ ด้วยน้ำตาลเป็นสิ่งปลอมปนที่สามารถตรวบพบได้ง่าย และตามกฎของผู้ค้าไวน์ ไวน์ที่ปลอมปนด้วยสสารประเภทอื่น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้ในตลาดการค้าไวน์

หลังจากค้นคว้าวิจัยอยู่นาน นาลัสกี้ค้นพบสารเคมีตัวหนึ่งที่มีรสชาติหวานเล็กน้อย มันมีราคาถูกมาก ผู้ผลิตไวน์สามารถลงทุนเพียง 5 ดอลลาร์ สำหรับการผลิตไวน์ขาวจำนวน 3 ล้านแกลลอน ติดเพียงนิดเดียวเท่านั้น

มันมีความเป็นพิษต่อร่างกายของมนุษย์ !

สารเคมีดังกล่าวมีชื่อว่า Diethylene Glyclo หรือ DEG เป็นสารทำละลายในเครื่องอุปโภคบริโภค มีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี มันมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มกากน้ำตาลในไวน์ และเพิ่มความเข้มข้น

สำหรับเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีการปลอมปนด้วยดีอีจี เพียง 1 กรัม หากบริโภคติดต่อกันเป็นเวลานาน จะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อสมอง และส่งผลต่ออวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ร้ายแรงที่สุดคือถึงขั้นไตวาย

2 ปีผ่านไป นับจากนาลัสกี้ช่วยกอบกู้สถานการณ์เรื่องรสชาติของไวน์ขาวหวานออสเตรีย มันถูกผลิตออกสู่ท้องตลาดมากกว่า 8.8 ล้านแกลลอน ไวน์เหล่านี้เข้าไปวางอวดโฉมอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วเยอรมัน

เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพไวน์ของเยอรมัน ตรวจพบสารปลอมปนในไวน์จากออสเตรียเมื่อปี 1985 โดยตรวจพบจากไวน์ขาวหวานที่วางขายในซูเปอร์มาร์เก็ต ผลการตรวจสอบพบว่ามีการปลอมปนของดีอีจีมากถึง 4.8 กรัม ต่อ 1 ขวด อุตสาหกรรมไวน์ขาวของออสเตรียถึงคราวชะงักงัน นาลัสกี้ ผู้ค้นคิดถูกจำคุกถึง 5 ปี

ไวน์ขาวมากกว่า 36 ล้านขวดถูกทุบทำลาย.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *