The Ghost Stories
หนังสั้น เรื่องกระจกสะท้อนกรรม ตอน งมงาย
ทุกคนเชื่อกันมั้ยคะว่าร่างทรงมีอยู่จริงหรือไม่ มันคือดาบ 2 คมแหละค่ะ บางคนเชื่อ บางคนไม่เชื่อ แต่หลายคนเชื่อเรื่องสวรรค์กับนรก แต่ทั้งๆ ที่ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้เลยว่า 2 สิ่งนี้มีจริง ทั้งๆ ที่ตาก็มองไม่เห็น
ร่างทรงก็เช่นกัน… มีจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง
ดิฉันมีเพื่อนเป็นคนใต้ ที่อยู่กับสิ่งเหล่านี้ ได้เห็น ได้สัมผัสบ่อยมาก ดิฉันไม่ใช่คนที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อเอาเลย มันต้องพิสูจด้วยตนเอง
ถ้าเป็นทางภูเก็ต กระบี่ ตรัง ส่วนใหญ่คนที่จะเป็นร่างทรงหรือม้าทรงจีน (เฉพาะศาลเจ้าใหญ่ๆ ระดับภาคหรือจังหวัด) มักจะมีการสอบหรือพิสูจน์จากคณะกรรมการศาลเจ้า ทั้งการเขียนภาษาจีน พูดภาษาจีน เล่าประวัติตระกูลสิ่งศักสิทธ์ที่ตนเองทรง การแอบเอาธูปจี้ พิสูจน์ต่างๆ นาๆจนเชื่อและมั่นใจได้
ภาษาจีนที่ใช้ไม่ใช่จีนกลางนะคะ ส่วนใหญ่เป็นภาษาจีนโบราณ โดยใช้ภาษาจีนฮกเกี้ยน เป็นหลัก
แต่ที่ทำให้ดูเสื่อมก็มักจะเป็นพวกมิจฉาชีพที่หลอกลวงนี่แหละคะ แค่ปลาตัวเดียวเน่าก็เหม็นทั้งเข่ง
แล้วทุกท่านเชื่อสิ่งเหล่านี้กันมั้ยคะ ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับร่างทรง แต่เราก็ไม่อาจจะรู้ได้ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของบุคคล ดิฉันมีหนังสั้นเรื่องหนึ่งที่จะสามารถสรุปมุมมองของทุกคนได้ อยากให้ทุกคนได้ลอง ไปติดตามชมกันค่ะ
The Ghost Stories
ถ้าเราเป็นคนไม่เชื่อเรื่องผี เราอาจนิ่งเฉยกับเรื่องราวจากปากของคนที่เคยโดนผีหลอก หรือแม้แต่กับเรื่องราวประเภทคนเห็นผี คนล่าผี เป็นเพราะคนไทยมีคำพูดที่เป็นประโยชน์แก่พวกมิจฉาชีพ คือคำว่า “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” แต่ข้อความนี้คงใช้ไม่ได้กับ ฟิลิปส์ กู๊ดแมน ศาสตราจารย์ที่ไม่เชื่อเรื่องผีสางนางไม้แม้แต่นิดเดียว อีกทั้งในความไม่เชื่อนั้น ยังเต็มไปด้วยข้อกังขาและข้อสงสัยจนถึงขั้นต้องออกพิสูจน์ ติดตามสัมภาษณ์บุคคลที่อวดอ้างว่าตนเองมีประสบการณ์เรื่องผี
“นักสำรวจเมืองผู้หนึ่งกล่าวไว้ว่า ที่ใดมีเรื่องผี ที่แห่งนั้นต้องมีเบื้องหน้าเบื้องหลัง ในพื้นที่หนึ่งๆ ที่มีเรื่องผี มันจะมีเหตุผลอยู่สักข้อหนึ่ง หรือหลายๆ ข้อ ที่ทำให้เกิดมีเรื่องผีขึ้น ดังนั้น การรวบรวมข้อเท็จจริง วิเคราะห์ แยกแยะ จึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้เรื่องลึกลับต่างๆ เกิดความกระจ่างแจ้งขึ้น” ไมเคิล อุ๋ง กล่าว
บางคนเปิดโทรทัศน์แล้วก็สนเท่ห์ใจ ว่าทำไมพิธีกรโทรทัศน์จึงล่วงรู้เรื่องราวของคนที่มาออกรายการของเขาเป็นอย่างดี จนถึงขั้นพูดถึงชีวิตของเขาได้เป็นฉากๆ
“อย่างในอังกฤษก็มีรายการคล้ายๆ กับประเทศไทย หนังเรื่องนี้ก็ทำให้เราเห็นว่า เอ๊ะ ทำไมพิธีกรรู้เรื่องราวของคนที่ถูกเลือกให้มานั่งในรายการล่ะ พูดไปก็ถูกหมด ปรากฎว่าก่อนจะบันทึกเทปเผยแพร่ ก็จัดการหาข้อมูลของคนๆ นั้นซะก่อน เพียงแต่รายการไม่ถ่ายมาให้ดู”
สำหรับบางคนก็พยายามเถียงว่า โทรทัศน์เป็นแค่เรื่องบันเทิง จะถือสาหาความทำไมนักหนา…
“ไม่ใช่นะ การที่โทรทัศน์เป็นเรื่องบันเทิงเป็นเรื่องถูกต้อง แต่ความบันเทิงไม่ควรเกิดขึ้นจากการหลอกลวงต้มตุ๋นนะ ยิ่งเป็นการแพร่ภาพ เข้าข่ายเป็นการโฆษณาชวนเชื่อทั่วประเทศ อาจจะเข้าข่ายเป็นการหลอกลวงประชาชนก็ได้ ขึ้นกับว่าคุณพยายามมากแค่ไหนที่จะทำให้คนดูหลงเชื่อในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของตัวละครที่ถูกคุณสร้างขึ้น มันไม่ได้หมายความว่า ทำโทรทัศน์ ทำรายการบันเทิง แล้วทำอะไรก็ได้นะ”
แล้วเขาจะหากินอะไรต่อทีนี้…
“ผมก็ว่าในโลกนี้ยังมีอาชีพสุจริตอีกเยอะ ซึ่งคนอื่นเขาก็ทำอาชีพสุจริตกัน เขาก็มีชีวิตที่มีความสุขได้ เขาก็อาจจะหาเงินได้น้อยหน่อย แต่เขาก็ภาคภูมิใจว่าเขาไม่ได้ไปหลอกลวงต้มตุ๋นใครเลย รายการโทรทัศน์ก็มีตั้งหลายประเภท ใครก็สามารถทำได้ ไม่มีใครว่าอะไรเลย”
กับประเด็นที่ว่า “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” โบราณเขาถือ
“ผมว่าเอาความจริงมาขายดีกว่า แม้แต่บางรายการก็ไปแอบบอกคำตอบเขาก่อน ให้เขาตอบแล้วดูเก่งในโทรทัศน์ ไม่มีอะไรจริงสักอย่าง ดูสื่อพวกนี้ ดูโทรทัศน์ไทย ผมเปิด porn hub ดูยังดีกว่า ยังมีความจริงมากกว่ารายการโทรทัศน์โง่ๆ พวกนี้อีก”
เอ้อ…